แผนพัฒนากลยุทธ์
กลยุทธ์เพื่อขับเคลื่อนสู่อนาคตด้วย PRIME
คณะวิทยาการจัดการวางแนวทางการบริหารจัดการคณะฯ ในการที่จะบรรลุวิสัยทัศน์ เป้าหมาย (6Us) และยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- สร้างสรรค์ศาสตร์แห่งแผ่นดินเพื่อพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
- พัฒนาความเป็นเลิศทางวิชาการในระดับสากล
- เพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพการดำเนินงานตามภารกิจ
- ใช้หลักธรรมมาภิบาล
- เพิ่มศักยภาพในการบริหารและจัดหาทรัพยากร
- ได้นั้น โดยกำหนดวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ (Strategic Objectives) 5 ประการ (PRIME) ดังนี้
- P: Programs of Academic Excellence หลักสูตรแห่งความเป็นเลิศทางวิชาการ (ตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ 2)
- การพัฒนาหลักสูตรใหม่ของคณะต้องคำนึงถึงความต้องของผู้มีส่วนได้เสียและผลประโยชน์ ของประเทศในอนาคต
โดยหลักสูตรใหม่ต้องสร้างคุณค่าให้กับคณะ
- R: Research-oriented มุ่งเน้นการไปสู่คณะวิจัยในด้านบริหารธุรกิจ (ตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ 1)
- I: Integration to Society การบูรณาการองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการธุรกิจและผลงานวิจัยเพื่อใช้ประโยชน์ในการให้บริการวิชาการแก่บุคคลภายนอกและการผลิตบัณฑิต (ตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่ 1 ) โดยผ่านศูนย์บูรณาการทางธุรกิจ
- M: Management Model การเป็นตัวแบบทางการจัดการที่ดี (ตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ 3, 4,5)
- E: Embedded การนำอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ 4)
“5 เสาหลักในการพัฒนาคณะวิทยาการจัดการเป็น Great Faculty”
เสาที่ 1 ธรรมาภิบาลและการบริหารที่ดี (Good Governance and Management)
- โครงสร้างคณะฯ ต้องคล่องตัว คุ้มค่าในการใช้ทรัพยากร บริหารทรัพยากรร่วมกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
- บุคคลากร จัดสรรและพัฒนาบุลากร โดยให้ความสำคัญทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน ทางสายวิชาการส่งเสริมให้ทุนนิสิตที่มีศักยภาพเรียนต่อปริญญาโท-เอกมากขึ้น
ผลักดันให้มีการขอตำแหน่งทางวิชาการมากขึ้นและเร็วขึ้นโดยเพิ่มทุนการพัฒนางานวิจัยผ่านการสนับสนุนโดยระบบ mentor และ peer ทางสายสนับสนุนผลักดันให้เพิ่มชำนาญการ
เพื่อยกระดับการบริการให้กับนิสิตและอาจารย์ เพิ่มโครงการฝึกอบรม เพื่อพัฒนาตนเอง ให้มีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น
- การเงิน แสวงหารายได้และแหล่งรายได้อย่างยั่งยืน เพิ่มรายได้จากการบริการวิชาการผ่านหลักสูตรอบรมระยะสั้นและหลักสูตร non-degree ในรูปแบบทั้ง onsite/online เพิ่มรายได้จากงานวิจัยที่ตอบโจทย์ภาคธุรกิจและชุมชน เพิ่มรายได้จากสินทรัพย์ของคณะฯโดยการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
- เทคโนโลยี พัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในทุกระดับ (ผู้บริหาร อาจารย์ บุคลากรสายสนับสนุน นิสิต และศิษย์เก่า) ให้มีข้อมูลที่ถูกต้อง ทันเวลา และนำไปใช้ประโยชน์ได้
เสาที่ 2 สร้างความเข้มแข็งทางวิชาการสู่ระดับสากล (Global Academic Programs)
- ปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรที่ทันสมัยและโดดเด่นเป็นที่ยอมรับในระดับสากลเช่น Entrepreneurship and Enterprise Management เพิ่มเนื้อหาที่ทันสมัยเช่น Financial Technology, Wealth Management, Digital Literacy เป็นต้น
- เพิ่มหลักสูตรประกาศนียบัตรแบบ continuing professional development (จากระดับนักเรียนนิสิต สู่บัณฑิต ศิษย์เก่า ผู้สนใจ ไปถึง ผู้บริหาร ผู้นำธุรกิจ) ที่มาจากการบูรณาการหลากหลายสาขาวิชาในคณะฯ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ เช่นหลักสูตรผู้ประกอบการในยุคดิจิทัล
- เสริมสร้างความเป็นนานาชาติ โดยมีหลักสูตรภาคภาษาอังกฤษทุกสาขาวิชาของคณะฯ เพิ่มหลักสูตรนานาชาติ สร้างเครือข่ายกับมหาวิทยาลัยจากต่างประเทศมากขึ้น เพิ่ม MOU ในการแลกเปลี่ยนนิสิตและอาจารย์ต่างชาติ เพิ่มทุนการศึกษาให้นิสิตต่างชาติ เพื่อเพิ่ม Inbound-Outbound เพิ่ม Ranking และยกระดับคณะฯ ให้สากลมากขึ้น
เสาที่ 3 พัฒนากลุ่มวิจัยระหว่างสาขาวิชา (Innovative Research Clusters)
- ยกระดับผลงานทางวิชาการ
- เพิ่มรายได้จากงานวิจัย
- ยกระดับวารสาร พัฒนาการจัดประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ
- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการทำงานร่วมกันระหว่างสาขาวิขา
เสาที่ 4 สิ่งแวดล้อมพร้อมทำงาน (Attractive Environment)
- ปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางกายภาพให้เหมาะสมและปลอดภัยกับการเรียนและการทำงาน
- เพิ่มพื้นที่สีเขียวในคณะฯ รวมถึงการดำเนินการต่างๆที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
เสาที่ 5 ครอบครัว วจก. สุขสันต์ (Happy MS Family)
- สร้างความสุขให้เกิดขึ้นในการเรียนและในการทำงาน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี